การเลี้ยงไหม (Silkworm
rearing)
ไหม
(silkworm) ที่กินใบหม่อนเป็นอาหารมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Bombyx mori อยู่ในวงศ์ Bombycidae ไหมเป็นแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลง
รูปร่างแบบสมบูรณ์(Completely metamorphosis insect) แบ่งระยะการเจริญ
เติบโตออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้
และผีเสื้อ มีเพียง ระยะตัวหนอนเท่านั้นที่กินอาหารและอาหารของหนอนไหมก็คือใบหม่อน
หนอนไหม จะนำสารอาหารชนิดต่างๆ จากใบหม่อนไปสร้างความเจริญเติบโตโดยผ่านการ ย่อยและดูดซึมเป็นปริมาณ
1 ใน 3 ของสารอาหารทั้งหมด
ครึ่งหนึ่งของโปรตีน ที่ดูดซึมจากใบหม่อนจะถูกนำไปใช้ผลิตสารไหม เมื่อถึงวัย 5
วันแรกต่อมไหม (silk gland) จะหนักเพียง 6.36%
ของนำหนักตัวไหม เมื่อไหมสุกก่อนเข้า ทำรัง ต่อมไหมจะหนักถึง 41.97%
จะเห็นว่าปลายวัยที่ 5 สารอาหารโดยเฉพาะ
โปรตีนเกือบทั้งหมดถูกเปลี่ยนไปเป็นสารที่ใช้ชักใยทำรังหรือเส้นไหมนั่นเอง
พันธุ์ไหมที่ใช้เลี้ยงมีทั้งไหมพันธุ์ ไทย(Native Thai
variety : Polyvoltine) พันธุ์ไทยลูกผสม(Thai hybrid
variety)) และพันธุ์ลูกผสมต่าง ประเทศ(Foreign hybrid
variety :Bivoltine) การเลี้ยงไหมโดยทั่วไปไหมจะมี5 วัย วัย 1-3 เรียกว่าไหม วัยอ่อน(Young
silkworm) และวัย 4-5 เรียกว่าไหมวัยแก่(Grown
silkworm) เมื่อไหมสุกจะทำรังโดย การพ่นเส้นใยห่อหุ้มคือ
เส้นใยที่พ่นออกมาจากปากของตัวหนอนไหมที่โตเต็มวัยเพื่อมาห่อหุ้มตัวป้องกันศัตรู ทางธรรมชาติในขณะที่หนอนไหมลอกคราบจากหนอนไหมเป็นตัวดักแด้และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
หนอนไหมเป็นแมลงชนิดหนึ่งซึ่งมีการเจริญเติบโตจากไข่ไหม และเป็นตัวหนอนไหม
ในขณะที่ เป็นตัวหนอนไหมจะเจริญเติบโตโดยการลอกคราบประมาณ 3-4 ครั้งในระยะเวลาประมาณ 20-22 วัน และจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
10,000 เท่า โดยการกินอาหารเพียงอย่างเดียว คือใบหม่อน
และเมื่อเจริญ เติบโตเต็มที่แล้ว จะหยุดกินอาหาร แล้วพ่นเส้นใยออกมาห่อหุ้มตัวเอง
ที่เราเรียกว่ารังไหม(Cocoon) ซึ่งมีลักษณะกลมรีคล้ายเมล็ดถั่ว
เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมไทยจะเก็บรังไหมไว้แล้วรีบสาวเส้นไหมให้เสร็จภายใน 10 วัน(กรมส่งเสริมการเกษตร, 2538) ก่อนที่ดักแด้ไหมจะกลายเป็นผีเสื้อและเจาะออกมาจากรังไหมทำให้
รังไหมเสียหายเมื่อนำไปสาวจะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพต่ำ
ผลผลิตรังไหมที่ได้ของเกษตรกรมีสีเหลือง ส่วนใหญ่ ได้มาจากพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ไทยลูกผสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น