การสาวไหม
การสาวไหม คือ การดึงเส้นไหมออกจากรังไหม เพื่อผลิตเส้นไหม ตามขนาดที่ต้องการสำหรับการทอผ้าไหม (สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐาน หม่อนไหม, 2554) การสาวไหมทำได้โดยการนำรังไหมมาต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิ ตั้งแต่ 70-80 องศาเซลเซียสเพื่อทำให้กาวไหม (Sericin) อ่อนตัวและดึง เส้นไหมออกมาเป็นเส้นยาวได้ อุณหภูมิที่ใช้ในการสาวไหมนั้นจะต้องต่ำกว่า จุดเดือด ถ้าน้ำที่ต้มร้อนเกินไป จะสังเกตได้จากเส้นไหมที่สาวขึ้นมาจะเปื่อยยุ่ย และเป็นกระจุก แต่ถ้าอุณหภูมิของน้ำต่ำเกินไปน้ำร้อนไม่พอก็จะไม่สามารถ สาวไหมขึ้นมาได้ความยาวของเส้นใยจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการดูแลในช่วง ที่เป็นหนอนไหม เมื่อได้รังไหมมาแล้วก่อนที่จะนำรังไหมไปสาวจะต้องคัดรังไหม ที่เสียก่อนเพื่อให้ได้เส้นไหมที่ดีมีความสม่ำเสมอ (สำนักงานมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2550) การสาวไหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
สาวไหมด้วยมือ |
สาวไหมด้วยเครื่อง |
การสาวไหม คือ การดึงเส้นไหมออกจากรังไหม เพื่อผลิตเส้นไหม ตามขนาดที่ต้องการสำหรับการทอผ้าไหม (สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐาน หม่อนไหม, 2554) การสาวไหมทำได้โดยการนำรังไหมมาต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิ ตั้งแต่ 70-80 องศาเซลเซียสเพื่อทำให้กาวไหม (Sericin) อ่อนตัวและดึง เส้นไหมออกมาเป็นเส้นยาวได้ อุณหภูมิที่ใช้ในการสาวไหมนั้นจะต้องต่ำกว่า จุดเดือด ถ้าน้ำที่ต้มร้อนเกินไป จะสังเกตได้จากเส้นไหมที่สาวขึ้นมาจะเปื่อยยุ่ย และเป็นกระจุก แต่ถ้าอุณหภูมิของน้ำต่ำเกินไปน้ำร้อนไม่พอก็จะไม่สามารถ สาวไหมขึ้นมาได้ความยาวของเส้นใยจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการดูแลในช่วง ที่เป็นหนอนไหม เมื่อได้รังไหมมาแล้วก่อนที่จะนำรังไหมไปสาวจะต้องคัดรังไหม ที่เสียก่อนเพื่อให้ได้เส้นไหมที่ดีมีความสม่ำเสมอ (สำนักงานมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2550) การสาวไหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การสาวไหมด้วยมือ(Hand reeling)
เป็นวิธีการดึงใยไหมออกมาจากรังไหมโดยใช้มือและอุปกรณ์การสาว
อย่างง่ายที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น การสาวไหมส่วนใหญ่ของไทยส่วนใหญ่เป็น สาวด้วยมือ
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสาวไหมด้วยมือ มี2 ชนิด คือ พวง สาวไหมแบบพื้นบ้าน(Traditional
reeling tool) และพวงสาวไหมแบบปรับปรุง
การสาวไหมด้วยเครื่องจักร (Machine
reeling)
การสาวไหมโดยใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ(Automatic
reeling machine) ใช้ในการสาวไหมโดยใช้รังไหมที่มีเปอร์เซ็นต์เปลือกรังไม่ต่ำกว่า
19 เปอร์เซ็นต์ เพราะรังไหมที่มีเปอร์เซ็นต์เปลือกรังต่ำ
เส้นไหมจะขาดบ่อย เนื่องจากการสาว ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติจะมีความเร็วในการสาวสูง
และใช้ แรงงานในการควบคุมการสาว สาวไหมเพียง 2-3 คน ต่อ
ชุดหัวสาว(ประมาณ 200 หัวสาว)
ดังนั้นประสิทธิภาพการสาวสูงมาก จึงต้องใช้รังไหมที่มีคุณภาพดี และมีเส้นใยมาก
เพื่อให้ได้เส้นไหมที่มีคุณภาพสูง รังไหมที่ใช้ในการสาวเป็นรัง ไหมลูกผสมต่างประเทศสีขาว
และพันธุ์ไทยลูกผสมสีเหลืองซึ่งโรงสาวไหม รับซื้อจากเกษตรกรเครือข่ายโดยการรับซื้อตามคุณภาพรังไหมที่ใช้เส้นไหมที่สาว
ได้เป็นเส้นไหมหนึ่งแต่จะมีการจำแนกชั้นคุณภาพ 7 ชั้นคุณภาพ
ได้แก่ เส้นไหม ชั้น B, A, 2A, 3A, 4A, 5A และ 6A
ชนิดไหม
เส้นไหมเปลือกนอก หมายถึง
เส้นไหมที่สาวจากเปลือกรังไหม อาจมีขี้ไหมหรือ ปุ่มปมติดอยู่บ้าง
(2) เส้นไหมน้อย
หมายถึง เส้นไหมที่สาวภายหลังการสาวไหมเปลือกนอกออกแล้ว และได้เส้นไหมขนาดเล็กเรียบอย่างสม�่ำเสมอ
(3) เส้นไหมดักแด้
หมายถึง เส้นไหมที่สาวภายหลังการสาวไหมน้อยออกแล้วจนถึง ตัวดักแด้และได้เส้นไหมที่อาจมีขี้ไหม
หรือปุ่มปมติดอยู่บ้าง (4) เส้นไหมรวม หมายถึง
เส้นไหมที่สาวจากเปลือกรังไหมจนถึงตัวดักแด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น