ในการผลิตผ้าไหมไทยนิยมทำการฟอกย้อมสีเส้นไหมซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมไทย
ที่แตก ต่างจากผ้าไหมที่ผลิตจากทั่วโลกที่นิยมการย้อมสีผ้าผืน
ซึ่งการฟอกและย้อมสีไหมเป็นกระบวนการผลิตที่ ดำเนินการก่อนการนำเส้นไหมดิบที่ได้จากการสาวไหมไปย้อมสีนั้นจะต้องนำเส้นไหมดิบไปฟอกเพื่อ
ลอกกาวไหมเซริซิน(Sericin)ออกก่อนซึ่งขั้นตอนในการลอกกาวไหมถือเป็นกระบวนการที่สำคัญและมีผลต่อ
คุณภาพมาตรฐานผ้าไหมที่ขอรับการรับรองมาตรฐานต่างๆ โดยเฉพาะตรานกยูงพระราชทาน
เนื่องจากหาก การฟอกกาวไม่ดีไม่มีคุณภาพไม่สามารถฟอกกาวเซริซินออกจากเส้นไหมได้หมดจะทำให้การย้อมสีไหมเกิด
ปัญหาด้านคุณภาพของการติดสีและเกิดการตกสีเวลานำผ้าไหมไปซัก
สารที่ใช้ในการฟอกเส้นไหมเป็นน้ำ ด่างที่ได้จากวัสดุจากธรรมชาติ และการใช้สารเคมี
สำหรับเส้นไหมพันธุ์ไทยที่มีสีเหลืองหลังการฟอกกาว ออกแล้วจะมีสีขาวนวลเนื่องจากสีเหลืองของเซริซินถูกลอกออกไป
ต่อมานำเส้นไหมไปล้างในน้ำเย็นจากนั้น นำเส้นไหมขึ้นมาบิดเพื่อเอาน้ำออกแล้วกระตุกเส้นไหมให้ยืดและตึงนำไปตากในที่ลมโกรกจนแห้ง
เมื่อเส้นไหม ที่ฟอกแห้งสนิทแล้วก็จะนำมาย้อมสีพื้นโดยนำเส้นไหมมาแช่น้ำให้เปียกก่อนแล้วผสมสีที่ต้องการกับน้ำอุ่นหลัง
จากนั้นนำเส้นไหมขึ้นมาบิดน้ำออก กระตุกแล้วนำกลับไปแช่อีกทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนครบ
3 ครั้งหรือจนกระทั่ง เห็นว่าสีติดเส้นไหมสม่ำเสมอดีแล้ว
ปัจจุบันการใช้วัสดุจากธรรมชาติสำหรับการฟอกและการย้อมสีไหมนั้น มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการตื่นตัวของผู้บริโภคในตลาดทั้งในและต่างประเทศในด้านความปลอดภัย สุขภาพ และการรักษา สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติดังนั้นกระแสความนิยมของโลกจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับสินค้าที่ปราศจากการ 20 มาตรฐานหม่อนไหม ใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย โดยการใช้สารจากวัสดุธรรมชาติมาเป็นทางเลือกในการผลิต จะเห็นได้จาก มาตรฐานการผลิตผ้าไหมและสิ่งทอของไทยและมาตรฐานนานาชาติที่ได้จัดทำมาตรฐานที่เป็นมาตรฐานทั่วไป (มาตรฐานสมัครใจ) สำหรับเป็นทางเลือกผู้บริโภคในตลาดเฉพาะ(Niche market) ได้แก่ มาตรฐานตรานก ยูงพระราชทาน ของกรมหม่อนไหม ที่ได้ออกประกาศในข้อกำหนดของมาตรฐานผ้าไหมตรานกยูง พระราชทานทุกชนิดจะต้องใช้สีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือการใช้สีธรรมชาติในการผลิตผ้าไหมไทย(กรม หม่อนไหม, 2554) และมาตรฐานสินค้าที่เกี่ยวกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco label products) ของสหภาพยุโรป สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป(EU) เป็นแนวมาตรการที่สหภาพยุโรป เริ่มใช้มาตั้งแต่ ปี1998 และประเทศสมาชิกได้มีการหารือเพื่อจัดทำมาตรฐานกลาง ตามประเภทสินค้า ต่างๆ เป็นระยะๆ ได้กำหนดตรามาตรฐานตรา EU Eco-label เป็นมาตรการทั่วไป
ขั้นตอนการลอกกาวไหมด้วยน้ำด่างธรรมชาติในการลอก
กาวไหมด้วยด่างธรรมชาติมีขั้นตอนดังนี้
1.1) เติมน้ำผสมน้ำด่างที่เตรียมไว้ถ้าน้ำด่างเข้มข้นมาก(pH ประมาณ 12 ขึ้นไป) อาจเติมน้ำ 3
ถึง 5 เท่าของน้ำด่าง
1.2) นำเส้นไหมที่ทำไจไหมดีแล้วแช่ลงในน้ำด่าง
ให้เส้นไหมจม ใต้น้ำด่างทั้งหมด ไม่ต้องตั้งไฟ ระหว่างแช่ให้กลับไหมและหมั่นสังเกต
เมื่อเส้นไหม อ่อนตัวนุ่ม มีลักษณะเป็นเมือก ให้ยกขึ้น แต่ถ้าแช่เส้นไหมเป็นระยะเวลานาน
แล้วเส้นไหมยังไม่อ่อนตัวหรือนุ่ม ให้ยกเส้นไหมออกมาพักไว้ แล้วนำน้ำด่างไป ตั้งไฟให้พออุ่นแล้วจึงยกภาชนะน้ำด่างนั้นลงมาแล้วนำเส้นไหมลงแช่จนกระทั่ง
เส้นไหมอ่อนตัว
1.3) ต้มน้ำในภาชนะที่เป็นสแตนเลสหรือภาชนะเคลือบ เมื่อน้ำเดือด พล่านให้นำเส้นไหมที่แช่น้ำด่างได้ที่แล้วลงไปลวก
หมั่นพลิกเส้นไหมให้สัมผัสกับ น้ำร้อนให้ทั่ว กาวไหมจะละลายออกมาในน้ำเดือด
จนกระทั่งเส้นไหมกลายเป็น สีครีม (สีมันปู)
1.4) ) ล้างเส้นไหมในน้ำร้อนอีกครั้งหนึ่ง แล้วผึ่งให้เย็นลง
1.5) ล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 2 - 3 ครั้ง แล้วบิดให้พอหมาด กระตุก ให้เส้นไหมเรียงตัว
นำไปผึ่งในที่ร่มถ้าต้องการลอกกาวเส้นไหมเพื่อย้อมสีอ่อน ให้ผสมสบู่ขาวในน้ำร้อนที่ล้างเส้นไหม
(ตามข้อ 1.4) จากนั้นล้างด้วยน้ำอุ่นอีก ครั้งให้คราบสบู่หลุดออก
แล้วจึงล้างด้วยน้ำจนสะอาด
ขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติ
ประเทศไทยมีวัสดุธรรมชาติมากมายที่สามารถใช้ในการฟอกย้อมสีไหม
ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นชนิดแต่ที่ได้รับความนิยม และมีคุณภาพดีในการย้อมนั้น สามารถจำแนกได้เป็น
2 กลุ่ม คือ กลุ่มสีย้อมธรรมชาติที่เป็นสีย้อมเย็น และ กลุ่มสีย้อมธรรมชาติที่เป็นสีย้อมร้อน
ชนิดของสีและวิธีในการย้อมสีธรรมชาติ มีรายละเอียด ดังนี้
สีและวิธีการย้อมเย็น
วัสดุหรือพืชในธรรมชาติที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการ
ย้อมสีธรรมชาติ ที่สำคัญและเป็นที่นิยมในตลาดสิ่งทอและผ้าไหม ได้แก่ คราม และฮ่อม
ให้ สีน้ำเงิน มะเกลือ (ให้สีดำ) เป็นต้น
การย้อมมะเกลือ
มีขั้นตอนและรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
· นำผลมะเกลือดิบสีเขียวจำนวน 3 กิโลกรัมมาตำให้ละเอียดจากนั้น เติมน้ำจำนวน 20 ลิตร
ผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปกรองเอาแต่น้ำสี
· นำเส้นไหมที่ลอกกาวแล้วลงย้อมในน้ำสีสกัดโดยนวดเส้นไหม ในน้ำสีให้ทั่วถึง
· บิดเส้นไหมให้หมาดแล้วนำไปกระตุกตากแดดเป็นเวลา 1 วั
· • เพิ่มผลมะเกลือดิบอีกจำนวน 1 กิโลกรัม
ตำให้ละเอียดผสมลงไป ในน้ำมะเกลือสกัดสีเดิม แล้วนำไปกรอง
· นำเส้นไหมที่ย้อมครั้งที่ 1 แล้วมาย้อมในน้ำสีสกัดครั้งที่ 2 แล้วนำไป ตากแดดนาน
1 วัน
· การย้อมสีแล้วตากแดดในแต่ละครั้งจะทำให้สีเข้มขึ้นจากสีเขียวไป เป็นสีเทาไปเป็นสีน้ำตาลและสีดำในที่สุดซึ่งการย้อมเย็นเพียงอย่างเดียวให้ได้สีดำ
สนิทอาจจะต้องใช้เวลาย้อม 5-7 ครั้ง เป็นเวลา 5-7
วัน
สีและวิธีการย้อมร้อน
หรือพืชในธรรมชาติที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการย้อมสีธรรมชาติ
ที่สำคัญและเป็นที่นิยม ในตลาดสิ่งทอและผ้าไหม ได้แก่ มะเกลือ (ให้สีดำ) ครั่ง
(ให้สีแดง) มะพูดหรือประโฮด และดอกดาวเรือง (ให้สีเหลือง)
ในการย้อมสีธรรมชาติโดยใช้วิธีการย้อมร้อน
มีหลักการในการดำเนินงานที่ใช้เป็นกรรมวิธีการผลิต ขั้นพื้นฐานและยึดเป็นหลักการในทางปฏิบัติสำหรับวัตถุดิบทุกชนิด
ดังน
· เตรียมวัตถุดิบย้อมสีตามอัตราส่วน เช่น ใบ ใช้อัตราส่วน 5-15 กิโลกรัมต่อการย้อม เส้นไหมจำนวน 1 กิโลกรัม, เปลือกหรือแก่นพืชใช้3 กิโลกรัมต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม ส่วนครั่งใช้จำนวน
3 กิโลกรัมต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม แล้วนำมาตัด
สับ หรือตำให้ละเอียดที่สุด
· นำวัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมสีมาต้มสกัดน้ำสีนานประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ยกเว้นครั่ง ใช้การแช่หรือการใช้น้ำร้อนนวดเพื่อเอาน้ำสี
· กรองเอาน้ำสีมาปรับปริมาตรให้ได้30 ลิตรต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม
· นำเส้นไหมแช่น้ำบิดกระตุกให้เรียงเส้นแล้วนำมาแช่ในน้ำสีย้อมนานประมาณ
10 นาที
· ครบเวลายกเส้นไหมพักในภาชนะ นำน้ำสีขึ้นต้ม
· เมื่อน้ำสีเดือดจึงเติมสารช่วยติดสีตามชนิดของวัตถุดิบ
o
- ครั่ง ใช้มะขามเปียก,
สารส้ม
o
- ประโหด ใช้สารส้ม
o
- ใบไม้เปลือกไม้ที่ให้สีน้ำตาล
ไม่ต้องใช้สารช่วยติดสี
· นำเส้นไหมลงย้อมในน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิ90 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง
· ครบเวลานำเส้นไหมล้างในน้ำอุ่น จำนวน 2 ครั้ง
· นำเส้นไหมไปล้างจนน้ำเป็นสีใส แล้วกระตุกตากเส้นไหมในที่ร่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น