ศิลปหัตถกรรมผ้าไหม
วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558
การเลี้ยงไหม (Silkworm rearing)
การเลี้ยงไหม (Silkworm
rearing)
ไหม
(silkworm) ที่กินใบหม่อนเป็นอาหารมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Bombyx mori อยู่ในวงศ์ Bombycidae ไหมเป็นแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลง
รูปร่างแบบสมบูรณ์(Completely metamorphosis insect) แบ่งระยะการเจริญ
เติบโตออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้
และผีเสื้อ มีเพียง ระยะตัวหนอนเท่านั้นที่กินอาหารและอาหารของหนอนไหมก็คือใบหม่อน
หนอนไหม จะนำสารอาหารชนิดต่างๆ จากใบหม่อนไปสร้างความเจริญเติบโตโดยผ่านการ ย่อยและดูดซึมเป็นปริมาณ
1 ใน 3 ของสารอาหารทั้งหมด
ครึ่งหนึ่งของโปรตีน ที่ดูดซึมจากใบหม่อนจะถูกนำไปใช้ผลิตสารไหม เมื่อถึงวัย 5
วันแรกต่อมไหม (silk gland) จะหนักเพียง 6.36%
ของนำหนักตัวไหม เมื่อไหมสุกก่อนเข้า ทำรัง ต่อมไหมจะหนักถึง 41.97%
จะเห็นว่าปลายวัยที่ 5 สารอาหารโดยเฉพาะ
การปลูกหม่อน
การปลูกหม่อน
หม่อน
(Morus alba L.) เป็นพืชในตระกูล Moraceae หม่อนถือ เป็นพืชมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเลี้ยงไหมเพราะใบหม่อน
เป็นอาหารที่สำคัญ ของตัวหนอนไหมที่เลี้ยงสำหรับผลิตเส้นไหมในเชิงการค้า
(กรมส่งเสริม การเกษตร, 2538) ดังนั้นในขั้นตอนแรกของกระบวนการผลิตเส้นไหมจึงต้อง
มีการปลูกและดูแลต้นหม่อนให้เกิดใบที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับการเลี้ยงหนอนไหม ในแต่ละวัยเพื่อให้ได้ผลผลิตรังไหม
และเส้นไหมสูง ต้นหม่อนเป็นพืชที่ขึ้นง่าย และเจริญเติบโตโดยไม่ต้องอาศัยน้ำมากนัก
การฟอกย้อมสีไหม
ในการผลิตผ้าไหมไทยนิยมทำการฟอกย้อมสีเส้นไหมซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมไทย
ที่แตก ต่างจากผ้าไหมที่ผลิตจากทั่วโลกที่นิยมการย้อมสีผ้าผืน
ซึ่งการฟอกและย้อมสีไหมเป็นกระบวนการผลิตที่ ดำเนินการก่อนการนำเส้นไหมดิบที่ได้จากการสาวไหมไปย้อมสีนั้นจะต้องนำเส้นไหมดิบไปฟอกเพื่อ
ลอกกาวไหมเซริซิน(Sericin)ออกก่อนซึ่งขั้นตอนในการลอกกาวไหมถือเป็นกระบวนการที่สำคัญและมีผลต่อ
คุณภาพมาตรฐานผ้าไหมที่ขอรับการรับรองมาตรฐานต่างๆ โดยเฉพาะตรานกยูงพระราชทาน
เนื่องจากหาก การฟอกกาวไม่ดีไม่มีคุณภาพไม่สามารถฟอกกาวเซริซินออกจากเส้นไหมได้หมดจะทำให้การย้อมสีไหมเกิด
ปัญหาด้านคุณภาพของการติดสีและเกิดการตกสีเวลานำผ้าไหมไปซัก
สารที่ใช้ในการฟอกเส้นไหมเป็นน้ำ ด่างที่ได้จากวัสดุจากธรรมชาติ และการใช้สารเคมี
สำหรับเส้นไหมพันธุ์ไทยที่มีสีเหลืองหลังการฟอกกาว ออกแล้วจะมีสีขาวนวลเนื่องจากสีเหลืองของเซริซินถูกลอกออกไป
ต่อมานำเส้นไหมไปล้างในน้ำเย็นจากนั้น นำเส้นไหมขึ้นมาบิดเพื่อเอาน้ำออกแล้วกระตุกเส้นไหมให้ยืดและตึงนำไปตากในที่ลมโกรกจนแห้ง
เมื่อเส้นไหม ที่ฟอกแห้งสนิทแล้วก็จะนำมาย้อมสีพื้นโดยนำเส้นไหมมาแช่น้ำให้เปียกก่อนแล้วผสมสีที่ต้องการกับน้ำอุ่นหลัง
จากนั้นนำเส้นไหมขึ้นมาบิดน้ำออก กระตุกแล้วนำกลับไปแช่อีกทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนครบ
3 ครั้งหรือจนกระทั่ง เห็นว่าสีติดเส้นไหมสม่ำเสมอดีแล้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)